ReadyPlanet.com
dot
Our Product by SilkLeaf
dot
bulletCatalogue
bulletProducts
dot
บ้านนี้มีอะไร
dot
bulletBreastfeeding/Baby
bulletBaby Wearing/Baby Sling
bulletBe Happy-Food/Herb
bulletBusy Busy please relax
bulletPregnancy/Birth/Mamy
bulletProfessional
bulletประชุม สัมมนา
bulletแนะนำหนังสือ
dot
อยากรู้ต้องอ่าน / สนับสนุน
dot
bulletLact Med.Search-Medication & BF
bulletมูลนิธิส่งเสริมการคลอดและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แห่งประเทศไทย
bulletInternational Lactation Consultant Association:ILCA
bulletIBLCE
dot
BLOG
dot
bulletBirth a Baby BLOG in Thai
bulletBreastfeeding BANGKOK BLOG in English
dot
ขอข้อมูลเพิ่มเติม

dot
dot
E-Learning
dot
bullet เรียน online-Stanford's short course on Breastfeeding
bullet เรียน online-U of Minnesota center of spiritual
bulletเรียน online USAID Global Health E-learning Center
bulletเรียน online กับ มหาวิทยาลัยCornell เรื่อง Nutrition
bulletเรียนonline กับOpen2Study Australia
bulletเรียนOnlne กับ Health e-learning Free
bulletเรียนonline Gold Lactation Conferences
dot
Online Journal
dot
bulletJournal of Neonatal Nursing
bulletMIDIRS/ Midwifert Digest
bulletJournal of Midwifery & Women's Health
bulletBritish Journal of Midwifery
bulletWomen and Birth Journal
bulletJournal of Human Lactation
bulletPediatrics
bulletThe Royal College of Midwives:RCM publication
bulletBirth Journal
dot
Resource
dot
bulletMidwifery Today
bulletThe Rainbow Room
bulletInfant Risk Center
dot
องค์กรด้านสุขภาพและครอบครัว
dot


มูลนิธิส่งเสริมการคลอดและเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แห่งประเทศไทย
BAMBI:A Project of Childbirth&Breastfeeding Foundation of Thailand
Thai Breastfeeding Center
Hale Publishing
Rainbow Room
สมาคมพยาบาลนมแม่ประเทศไทย


เรื่องของเต้านมและน้ำนม

   การตั้งท้องสำหรับบางคนอาจเป็นเรื่องง่ายดาย ท้องได้ท้องดี แต่สำหรับบางคนอาจจะเป็นความหวังที่กว่าจะสำเร็จต้องผ่าฟันด้วยความอดทนและมุ่งมั่น แต่เมื่อเราได้ดังหมาย ก้าวต่อไปก็เป็นเรื่องของการคลอดและการที่จะได้ใช้น้ำนมตัวเองเลี้ยงลูกให้เติบโตแข็งแรงและเป็นคนดี

   วันนี้เรามารู้จักเต้านมของเราให้ดีขึ้นอีกสักหน่อยเพื่อเราจะได้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยความที่แม่ตั้งท้อง เต้านมก็จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจึงต้องการให้ข้อมูลคุณแม่ว่า กำเนิดของเต้านมเป็นอย่างไร...
 
 พัฒนาการของเต้านมช่วงชีวิตในมดลูกหลังการปฏิสนธิสัก 4 สัปดาห์เป็นต้นไป เราจึงมีเต้านมด้วยกันทั้งหญิงและชาย เราจึงมีจำนวนต่อมน้ำนมและท่อน้ำนมเท่ากันเพราะมันถูกพัฒนามาในช่วงนี้รวมทั้งการเกิดหัวนมบอดด้วยเช่นกัน 
พัฒนาการของเต้านมช่วงแรกเกิดถึงสองปีแรกจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปในช่วงสองปีนี้จะมีแต่ในระยะแรกเกิดที่ยังได้รับฮอร์โมนคุณแม่ผ่านมาทางสายสะดือเมื่อครั้งยังอยู่ในมดลูกอาจทำให้เห็นเต้านมคัดตั้งเต้าบ้างก็มีน้ำนมไหลออกมาตั้งแต่อ้อนแต่ออกสิ่งเหล่านี้เกิดได้เสมอและไม่ได้เกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำนมที่จะสมารถผลิตได้เมื่อโตเป็นสาว การเติบโตของเต้านมหลังจากสองปีจะไม่ค่อยมีอะไรมากนักจนกระทั่งเข้าสู่ระยะวัยรุ่นหรือย่างเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
  พัฒนาการของเต้านมช่วงวัยเจริญพันธุ์จะเป็นการทำงานของฮอร์โมนเพศที่จะทำหน้าที่แตกต่างกันทั้งชายและหญิงลักษณะของเต้านมจึงเริ่มแสดงความแตกต่างทางเพศมากขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เต้านมเพศชายจะหยุดการพัฒนาในขณะที่เต้านมผู้หญิงจะถูกขยายขนาดของต่อมน้ำนมและมีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้น ขนาดของเต้านมและไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนังไม่มีผลต่อความสามารถในการสร้างน้ำนมแต่อาจจะบอกถึงความจุในการเก็บน้ำนม การแสดงออกของเต้านมในช่วงที่มีประจำเดือนเช่นการคัดตึง การเจ็บ ก็เป็นการบอกถึงการเติบโตของเต้านมที่มีมากขึ้นตามลำดับและจะพัฒนาไปจนถึงระยะสุดท้ายของการตั้งท้อง
 เมื่อตั้งท้อง อานุภาพของการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนของการตั้งท้องจะเริ่มต้นการทำงานด้วยกันของแม่และลูกตลอดไปจนกว่าลูกจะดูแลตนเองได้และไม่ต้องพึ่งพาจากแม่ โดยช่วยเตรียมพร้อมเต้านมไปพร้อมกับการเติบโตของลูกอันนี้อาจเป็นคำตอบสำหรับความผูกพันของแม่และลูกที่เข้มแข็งและยืนยาว และอาจตอบคำถามว่าเมื่อไหร่การหย่านมจึงจะเริ่มขึ้น
  การเปลี่ยนแปลงที่คุณแม่จะสังเกตได้ตั้งแต่เริ่มตั้งท้องใน 3 เดือนแรกก็คือ ขนาดของหัวนมและลานนมที่จะขยายขึ้นและมีสีเข้มขึ้น เต้านมตึงขึ้นและขยายขนาดขึ้น ในขณะที่มีการพองฟูและขยายของต่อมผลิตน้ำนมอยู่ภายในเต้านม ความรู้สึกไวต่อสัมผัสของเต้านมเป็นอาการแรกที่คุณแม่มักรู้สึกในช่วงนี้ บริเวณลานนมจะมีต่อมน้ำมันที่เห็นเป็นตุ่มๆเหมือนสิว ขนาดขยายขึ้นเพื่อขับน้ำมันมาสร้างความชุ่มชื้นและช่วยให้ลานนมนุ่มและยืดหยุ่นช่วงให้ลูกดูดกินได้ง่ายชึ้น
 
  น้ำนมจะเริ่มผลิตในช่วงสัปดาห์ที่ 16 ของการตั้งครรภ์ และบางรายอาจมีหัวน้ำนม Colostrums ซึมออกมาให้เห็นในช่วงก่อนคลอด ระยะนี้เป็นระยะที่ 1 ของการผลิตน้ำนมของคุณแม่ค่ะ - ก่อนคลอด - ลักษณะเต้านมเห็นเส้นเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ลานนมจะยืดหยุ่นมากขึ้น หัวนมชี้ชันมากขึ้น บางคนมีขนาดขยายขึ้น ความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เช่น สีผิวบริเวณข้อพับต่างๆ มักมีสีเข้มขึ้น อาจพบติ่งเนื้อเล็กๆ หรือบางรายสิวขึ้น บางรายผิวแห้ง เส้นลายของความเป็นแม่มักปรากฏในช่วงนี้ใกล้คลอดนี้ที่หลายคนพบว่าหน้าท้อง ต้นขาแตกลาย และหลายคนก็อาจลุกลามมาถึงบริเวณเต้านมได้ บางรายพบว่าเต้านมจะไวต่อความรู้สึกอีกครั้ง ความรู้สึกเต้านมขยายและคัดตึงเต้านมจะมาเตือนสติให้รู้ว่าใกล้เวลาแล้วนะ ความสงสัยเรื่องความสามารถในการให้นมด้วยตนเองมักมีมากขึ้น
 
  ในช่วงตั้งครรภ์ 4-6 เดือน เนื่องจากพ้นระยะแพ้ท้องและสามรถปรับตัวได้ดีขึ้นแล้ว ดังนั้นอย่าลังเลที่จะเข้าสัมมนา อบรมกับกลุ่มคุณแม่ด้วยกันเองหรือกับการอบรมที่มีตามโรงพยาบาลเพื่อฝึกการอุ้มและหาคำตอบตรงนี้นะคะ
 
  วิธีการดูแลเต้านมแม่ก่อนคลอด ไม่มีการดูแลที่พิเศษเพียงการรักษาความสะอาดโดยการอาบน้ำตามปกติก็เพียงพอแล้ว คุณแม่ไม่ควรครีมทาบริเวณหัวนมเพราะจะไปอุดท่อน้ำมันหล่อลื่นบนเต้านม และไม่ควรขัดถูหรือดึงไขมันที่ติดที่หัวนมเพราะจะทำให้เกิดแผลได้ ไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติแล้วค่ะ แต่ถ้าคุณแม่พบว่าหัวนมบอดอาจเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะแก้ไขโดยการนวดดึงหัวนมซึ่งสามารถไปขอคำปรึกษาได้ตามคลินิกนมแม่หรือที่โรงพยาบาลที่คุณแม่ฝากท้องอยู่นะคะ คุณแม่สามารถตรวจง่ายๆด้วยตัวเองโดยการใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับหัวนมถ้าสามารถจับได้แสดงว่าปกติไม่ต้องทำอะไร แต่บอกเพื่อลดกังวลไว้ก่อนว่าเปอร์เซ็นต์ที่จะมีหัวนมบอดมีน้อยมากค่ะ อย่ากังวลไปเลย
 หลังคลอด - ลักษณะเต้านมแม่หลังคลอด หลังคลอดใหม่ๆ การคัดตึงเต้านมคงยังไม่มีละอาจไม่มีให้เห็นเลยถ้าน้ำนมถูกระบายบ่อยพอแสดงว่าการผลิตน้ำนมพอเพียงและเพียงพอกับความต้องการของลูก การคัดตึงอาจเริ่มมีบ้างในราววันที่ 4 เป็นต้นไป อาการมักพบในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ซึ่งบอกได้ว่าเต้านมต้องการระบายน้ำนมออกมากขึ้น ควรให้ลูกกืนนมบ่อยขึ้น
หลังจาก 3 เดือนแรกผ่านไป ปริมาณของฮอร์โมนโปรแล็คติน จะค่อยๆ เริ่มลดต่ำลงกลับสู่ระดับปกติของการผลิตน้ำนม คุณแม่จะไม่รู้สึกว่าหน้าอกคัดตึงเหมือนช่วงแรก น้ำนมที่เคยไหลซึมก็น้อยลง หรือหายไปเลย ไม่รู้สึกว่าน้ำนมไหลพุ่ง ไม่รู้สึกถึงกลไกการหลั่งน้ำนม (Let down reflex) และปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ก็อาจจะลดลง ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็น เรื่องปกติ ไม่ได้หมายความว่า ปริมาณการผลิตน้ำนมของคุณลดลงแต่อย่างใด
 การดูแลเต้านมแม่หลังคลอด
 
1. อาบน้ำทำความสะอาดตามปกติ ซับให้แห้งเสมอ ไม่จำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ
 
2. หลีกเลี่ยงการใช้ครีมทาหัวนมเพราะจะไปอุดอันต่อมน้ำมันที่ลานนม และต้องเช็ดออกก่อนให้ลูกกินนมจากเต้าทำให้หัวนมและลานนมแห้งมากขึ้น
 
3. หลีกเลี่ยงการขัด ถูที่หัวนม รวมถึง กำจัดไขมันบนหัวนมเพราะอาจนำไปสู่การเป็นแผล
 
4. สวมยกทรงที่มีขนาดพอดีเพื่อประคองเต้านมถ้ามีเต้านมใหญ่และหนัก ถ้าเต้านมมีขนาดเล็กอาจไม่จำเป็นต้องสวมยกทรงเพราะบางคนรู้สึกสะดวกที่ไม่ต้องสวมยกทรง
 
5. ถ้ามีน้ำนมหยดไหล การใช้แผ่นซับน้ำนมที่ซักได้จะระบายลมได้ดีกว่า ทำความสะอาดง่ายกว่าและยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบฉบับของแม่ยุคใหม่อย่างเราๆด้วยค่ะ

   

สามารถติดตามข่าวสารใหม่ๆของเราได้ที่   

  https://www.facebook.com/birthababysilkleaf Birth a Baby by Silkleaf

birthababy @birthababy

 

 

 




Breast...Breastfeeding

เต้านมเล็กจะเต้านมเล็กจะมีน้ำนมพอให้ลูกกินไหม
ขนาดหน้าอกไม่เท่ากัน เพราะให้ลูกดูดนมข้างเดียว
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำนมเสียต้องทิ้ง?
ถ้าไม่ใช้เครื่องปั้มจะบีบน้ำนมอย่างไร?
เจ็บหัวนม หัวนมแตก ควรให้ลูกกอนนมต่อไหม?
หากหัวนมเป็นแผลจนเลือดออกหรือแผลเป็นหนองสามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ไหม?
แม่ป่วยหรือต้องอยู่ในระหว่างการรักษาต้องหยุดให้นมไหม?
ไม่ทันได้เตรียมเต้านม เตรียมตัวตอนท้องจะให้นมลูกได้ไหม?
กินยาแก้แพ้ส่งผลต่อน้ำนมไหมคะ ?!
วิธีสังเกตดูสีน้ำนมแม่
การเก็บรักษานมแม่ไว้นอกเต้า article
จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกอิ่มแล้ว
เวลาจะให้ลูกกินนมที่แช่ไว้ต้องทำอย่างไร?
เก็บน้ำนมได้นานแค่ไหน?
ต้องให้ลูกกินนมแม่นานเท่าไร article
ถ้าต้องไปทำงาน จะเก็บน้ำนมอย่างไร?
ควรเริ่มให้กินนมแม่เมื่อไร? 🤱
🚨 ผู้ใหญ่บอกให้งดของแสลง แล้วของต้องห้ามของแม่ที่ให้นมลูกต้องระวังคืออะไรค่ะ?
น้ำนมน้อยอย่างไรดี 🤱
กลุ้มใจ...น้ำนมไม่ไหลทำอย่างไรดี article
น้ำนมแม่ปกป้องสายตาเจ้าตัวเล็ก
การคุมกำเนิดกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ article
Too Much 0r Too Little
นมไหนว่าแน่ นมแม่แน่กว่าใคร article
“ทำอึ๋ม” อุปสรรคให้นมแม่
นมแม่แน่ยังไง
ลักษณะของน้ำนมแม่
อะไรช่วยให้แม่เลี้ยงลูกด้วยนำ้นมแม่ได้สำเร็จ
เด็กเล็กควรดูแลอย่างไรในภาวะน้ำท่วม
นมแม่ แน่กว่าเป็นไหนๆ
กินนมแม่อย่างไรป้องกันภัยจากโรคหวัดสายพันธ์ุใหม่2009 article
นมแม่ครั้งแรกไม่ยากอย่างที่คิด
อุ้มลูกดูดนมแม่อย่างถูกวิธี
เด็กไทยในยุคนมมหาภัย
เตรียมหัวนมก่อนคลอด
BPA : คุณภาพหรือมาตราฐานที่ต้องรู้สำหรับขวดนม
เทคนิกการคำนวณนมแม่
ให้ลูกกินนมแม่ทำอย่างไร article
สัปดาห์นมแม่โลก 2554 นมแม่ บอกทั่วทิศ ด้วยจิตอาสา
WBW2009 BF in emergency
World Breastfeeding Week 2010 : สัปดาห์นมแม่โลก 2553
สายใยรักนมแม่ cafe :22 พฤศจิกายน2552
WBW2009
Breastfeeding Cafe article
baby
เด็กเกิดมาเพื่อให้โลกนี้งดงามและผาสุก article
โรงพยาบาลสายใยรัก article