
พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ ผ้าทอหาดเสี้ยว พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ Gold Textile Musuem บ้านหาดเสี้ยว จัดแสดงเรื่องราว ความเป็นมาของผ้าทอมือลายโบราณของชาวไทยพวน บ้านหาดเสี้ยว มีทั้งผ้าจกเก้าลายบ้านหาดเสี้ยว ผ้าที่ใช้ในพิธีบวชนาคด้วยขบวนช้าง ผ้าที่ใช้ในพิธีแต่งงาน ซึ่งล้วนเป็นเอกลักษณ์ผ้าทอมือของชาวไทยพวน บ้านหาดเสี้ยว ที่สืบทอดต่อกันมานับร้อยๆปี นอกจากนี้ยังมีผ้าซิ่นตีนจก จากแหล่งต่างๆ เช่น จากอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดอุตรดิต คุณสาธร โสรัจประสพสันติ เจ้าของร้านสาธรเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งพิพิธภัณฑ์แสดงเรื่องราวผ้าทอมือลายโบราณ และผ้าที่มีความวิจิตรงดงามที่เก็บสะสมด้วยใจรัก ด้วยความผูกพัน มาเป็น พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำบ้านหาดเสี้ยว การสะสมผ้าเก่าที่มีอายุเกิน 100 ปี ผ้าตีนจกลวดลายต่างๆ ผ้าคลุมหัวช้างลวดลายโบราณ ผ้าขิด ผ้าขาวม้า ผ้าเช็ดหน้า ฯลฯ เป็นเสมือนหนึ่ง การเก็บบันทึกประวัติศาสตร์เรื่องราวของผ้าทอมือลายโบราณ เป็นการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความวิจิตรงดงามเหล่านี้ให้คงอยู่คู่แผ่นดินไทย และยังเป็นพิพิธภัณฑ์ทางปัญญาสำหรับผู้สนใจใฝ่เรียนรู้เรื่องผ้าทอมือของไทยได้เป็นอย่างดีเมื่อก่อนใช้ชื่อพิพิธภัณฑ์ผ้าเก่า ภายหลังเปลี่ยนมาเป็น พิพิธภัณฑ์ผ้าทองคำ เพื่อใช้เป็นจุดขาย ให้ทางร้านผ้าของคุณสาธรด้วย ปัจจุบันได้รวบรวมผ้าซิ่นตีนจกลายโบราณ 9 ลายไว้อย่างครบถ้วน ผ้าซิ่นตีนจกเหล่านี้มีอายุมากกว่าร้อยปี ผ้าที่โดดเด่น เห็นจะเป็น ผ้าซิ่นตีนจก ซิ่นหาดเสี้ยว แต่เดิมเป็นซิ่นต่อกันสามชิ้น ลายขวางแบบซิ่นล้านนาไทย มักเป็นผ้าฝ้ายอาจมีไหมสลับบ้างแต่ไม่ใคร่พบ ซิ่นหาดเสี้ยวมี 2 ชนิด คือ ซิ่นธรรมดาใช้ใส่อยู่กับบ้านและทำงาน และซิ่นตีนจกที่ใช้ในโอกาสพิเศษ เช่น งานบุญ งานเทศกาลและพิธีการสำคัญ ซิ่นธรรมดามักเป็นซิ่นพื้นลายขวางลำตัว มีเชิงเป็นแถบสีดำและสีแดงอมส้ม ส่วนซิ่นตีนจกนั้นจะประกอบด้วยสามส่วนคือ หัวซิ่น (ส่วนบน) ตัวซิ่น (ส่วนกลาง) และตีนซิ่น (ส่วนล่าง) ตีนจกคือเชิงซิ่นที่ใช้เทคนิคการควักหรือล้วงด้วยมือ ซึ่งอาจใช้ขนเม่น หรือไม้ช่วยก็ได้ ทำให้เกิดลวดลายบนผืนผ้าสลับสีสันสวยงาม ลายตีนจกของหาดเสี้ยวจะมีลักษณะการทอที่ทอคว่ำหน้าลายลง ลวดลายที่ทอเป็นลายเรขาคณิตเป็นหลัก ลายที่พบมีอยู่ 9 แบบด้วยกัน คือ -ลายสิบหกดอกตัด (ลายสิบหกขอ) ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.muangthai.com/ |